วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์ สำนักงานพระสอนศีลธรรม สังคมอุดมสุขด้วยศีลธรรม พันธกิจ  พันธกิจที่ ๑ : พัฒนาพระสอนศีลธรรมให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  พันธกิจที่ ๒ : วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ตามแนวทางพระพุทธศาสนา และเพิ่มประสิทธิภาพในการ                        ติดตาม ประเมินผล  พันธกิจที่ ๓ : บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา  พันธกิจที่ ๔ : ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้เป็นสังคมวิถีพุทธ  พันธกิจที่ ๕ : บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักพระพุทธศาสนา  ยุทธศาสตร์  ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การวิจัยและพัฒนา และการติดตามประเมินผล  ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนา   ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ  ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักพระพุทธศาสนา  กลยุทธ์  กลยุทธ์ที่ ๑ การคัดเลือก ยกย่อง เชิดชูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนดีเด่น  กลยุทธ์ที่ ๒ การพิจารณาคัดเลือกพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนรางวัลพระราชทาน  กลยุทธ์ที่ ๓ สร้างและพัฒนามาตรฐานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  กลยุทธ์ที่ ๔ ส่งเสริมพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนให้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกรูป  กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  กลยุทธ์ที่ ๖ พัฒนาหลักสูตรพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  กลยุทธ์ที่ ๗ จัดอบรมและการผลิตสื่อ […]

jetsada

June 15, 2563

โครงสร้างสำนักงานพระสอนศีลธรรม

ส่วนงาน ภาระงานและโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานพระสอนศีลธรรม  รายละเอียดภาระงาน กลุ่มงานสนับสนุนงานพระสอนศีลธรรม ดังนี้  ก. งานบุคคล มีหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่  1. จัดทำแผนงานด้านงานบุคคล ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร  2. จัดอบรมและพัฒนาบุคลากร  3. จัดสวัสดิการสำหรับพระสอนศีลธรรม  4. จัดทำข้อมูลและบันทึกข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลบุคลากรร่วมกับงานเทคโนโลยี  5. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับกลุ่มงานอื่น  6. รับผิดชอบงานอื่นที่มหาวิทยาลัยและผู้บริหารมอบหมาย  ข.งานแผนและนโยบาย  1. วางแผนการใช้งบประมาณตามนโยบายผู้บริหาร  2. จัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี  3. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับกลุ่มงานอื่น ๆ  4. จัดทำ เผยแพร่ และถ่ายทอดนโยบายผู้บริหาร  5. จัดทำคำของบประมาณประจำปี  6. จัดหางบประมาณสนับสนุนงานตามความเหมาะสม  7. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับกลุ่มงานอื่น  8. รับผิดชอบงานอื่นที่มหาวิทยาลัยและผู้บริหารมอบหมาย  ค.งานทะเบียน  1. จัดทำทะเบียนพระสอนศีลธรรม  2. ทำบัญชีเบิกจ่ายนิตยภัตและค่าพาหนะ  3. ตรวจสอบรายงานการสอน  4. บันทึกและรายงานผลการเบิกจ่าย ไปยังงานแผนและนโยบาย  5. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับกลุ่มงานอื่น  6. รับผิดชอบงานอื่นที่มหาวิทยาลัยและผู้บริหารมอบหมาย  ง. งานเลขานุการ  […]

kajonsak chudam

June 15, 2563

ความเป็นมา

สำนักงานพระสอนศีลธรรม  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ๑. ความเป็นมา    เป็นที่ทราบกันตลอดมาว่าระบบการศึกษาของประเทศไทยนั้น มีความผูกพันธ์กับสถาบันพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน เพราะการศึกษาไทยในอดีตนับตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนกระทั้งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  การศึกษายังคงดำเนินไป เช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวคือ มีวัดได้ให้ความรู้แก่พลเมืองให้เหมาะ แก่ความต้องการของประชาคม วัดและบ้านรับภาระในการอบรมสั่งสอนเด็ก ส่วนรัฐหรือราชสำนักควบคุมตลอดจนให้ความอุปถัมภ์ตามสมควร  ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องเรียนรู้การบ้านการเรือนจากจากคุณแม่คุณยาย ถ้าเป็นผู้ชายต้องศึกษาในวัด เพราะวัดเป็นที่รวมสรรพวิชา การเรียนการสอนในสมัยก่อนเป็นการฝึก การอ่านออก เขียนได้ จับประเด็นได้ เรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร การคัดลายมือ ศิลปะเฉพาะด้านเช่นช่างฝีมือ ช่างแกะสลัก ใครผ่านการบวชเรียนก็จะเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ว่าเป็นผู้ที่มีวิชาความรู้มีความสามารถ และต่อมาในสมัยอยุธยาได้ให้ความสำคัญกับการบวชเรียนมาก โดยมีหลักเกณฑ์ว่าใครที่ผ่านการบวชเรียนจะสามารถเข้ารับราชการได้ ระบบการศึกษาของไทย ได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ใน  รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มต้นด้วยการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น ซึ่งทำให้การศึกษาวัดและโรงเรียนแยกกันออกอย่างชัดเจน (คณะอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา. ๒๕๓๒, น. ๗)  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้การนับถือมาช้านานหลายศตวรรษและเป็นรากฐานสำคัญจารีต ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของคนไทย ชีวิตของประชาชนชาวไทยแต่เดิมผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนาและสถาบันพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น วัดได้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของชุมชนท้องถิ่น เป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เป็นแหล่งการศึกษาของประชาชนทุกระดับ ทำหน้าที่เป็นสถาบันหลักในการฝึกอบรมพระสงฆ์ที่จะสืบต่อพระพุทธศาสนาและพลเมืองที่จะรับผิดชอบสังคม จนถึงมีประเพณีบวชเรียนสำหรับเตรียมผู้นำทางสังคม ตั้งแต่ผู้นำครอบครัวเป็นต้นไป พระภิกษุสงฆ์ทั่วไปมีฐานะเป็นครูอาจารย์ของประชาชน และพระสงฆ์มีหน้าที่เป็นหัวหน้า วัดก็มีฐานะเป็นผู้นำชุมชนหลักธรรมคำสอน และวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาจากพระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมกล่อมเกลาจิตใจประชาชนชาวไทย ให้มีศีลธรรม จริยธรรม […]

kajonsak chudam

June 15, 2563